ย้อนรอยผลสำเร็จของการศึกษาภาษาเกาหลี เพื่อแนวทางในอนาคต -สัมมนาเพื่อพัฒนาการศึกษาภาษาเกาหลีในประเทศไทย-

ย้อนรอยผลสำเร็จของการศึกษาภาษาเกาหลี เพื่อแนวทางในอนาคต -สัมมนาเพื่อพัฒนาการศึกษาภาษาเกาหลีในประเทศไทย-

สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย (เอกอัครราชทูต ฯพณฯ อี อุก-ฮ็อน) ศูนย์การศึกษาเกาหลีประจำประเทศไทย (ผู้อำนวยการ คิม ยอง-จิน) และศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย (ผู้อำนวยการ คัง ยอน-เคียง) ร่วมกันจัดงานสัมมนาสำหรับผู้เชี่ยวชาญเพื่อย้อนรอยผลสำเร็จและหาแนวทางในการพัฒนาการศึกษาภาษาเกาหลี ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ โรงแรมสุโขทัย เขตสาธร กรุงเทพมหานคร

กระแสความสนใจต่อการศึกษาภาษาเกาหลีในประเทศไทยนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพิ่มวิชาเอกภาษาเกาหลีใน พ.ศ. 2529 และมหาวิทยาลัยบูรพา เพิ่มวิชาเอกภาษาเกาหลีใน พ.ศ. 2543 ณ ปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัย 13 แห่งที่เปิดสอนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเอก และมหาวิทยาลัย 5 แห่งที่เปิดสอนวิชาโทภาษาเกาหลี นอกจากนี้ยังมีสถาบันเซจงในศูนย์การศึกษาเกาหลี ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ (มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต) โดยใน พ.ศ. 2561 ได้เพิ่มภาษาเกาหลีในวิชาความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (PAT) และในปีนี้มีเด็กนักเรียนระดับมัธยมกว่า 4 หมื่นคนเลือกเรียนภาษาเกาหลีเป็นภาษาที่สาม

ในเดือนกันยายน ปีที่แล้ว ขณะที่ ฯพณฯ มุน แจ-อิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีเยือนไทยอย่างเป็นทางการ รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา ภริยานายกรัฐมนตรี และนางคิมจอง-ซุก ภริยาประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมงาน Korean Speaking Contest และให้กำลังใจผู้เข้าแข่งขันอีกด้วย

มีนักศึกษาเกียรตินิยม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จนถึง พ.ศ. 2562 รวม 140 คน ซึ่งได้บรรจุเป็นครูผู้สอนภาษาเกาหลีระดับมัธยมทั้งหมด และในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในปีนี้ เกาหลีได้ส่งครูชาวเกาหลีมาสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทยจำนวน 48 คน เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

การรวมตัวกันเพื่อหาแนวทางพัฒนาการศึกษาภาษาเกาหลีในประเทศไทยของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการศึกษาภาษาเกาหลี เช่น อาจารย์สาขาวิชาภาษาเกาหลี ครูสอนภาษาเกาหลีระดับ

มัธยมศึกษา หัวหน้าสถาบันเซจง เป็นต้น ในสถานการณ์เช่นนี้จึงมีความหมายอย่างมาก ซึ่งสาระสำคัญของการสัมมนา ได้แก่ สภาพปัจจุบันของการศึกษาภาษาเกาหลีในประเทศไทย วิธีส่งเสริมการอบรมอาจารย์ผู้สอนภาษาเกาหลี และวิธีพัฒนาการศึกษาภาษาเกาหลีในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยมีท่านเอกอัครราชทูต ฯพณฯ อี อุก-ฮ็อน และดร. กวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเกาหลี จำนวนกว่า 60 ท่าน จากศูนย์การศึกษาเกาหลี ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี มหาวิทยาลัย 13 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แห่ง และสถาบันเซจงเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ และ ฯพณฯ อี อุก-ฮ็อน ได้กล่าวว่า ภาษาเป็นวิธีหนึ่งในการสื่อสารที่สำคัญที่สุด และผู้ศึกษาภาษาเกาหลีในประเทศไทยได้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ จึงต้องขยายการศึกษาภาษาเกาหลีเป็นวงกว้างเพื่อเป็นรากฐานสำคัญของนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของรัฐบาลเกาหลี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามิตรภาพระหว่างสองประเทศจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นจากการศึกษาภาษาเกาหลี